สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มีนาคม ๒๕๖๐

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
Education Activities 2017

@ Wildlife Education #1
@ Young Naturalist
@ Amateur Nature Explorer
@ Nature Interpretation for Trainer
@ IPM in permaculture
@ Science Talent Youth Camp

ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพรผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการถ้ำและเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น

สัตว์ในประเทศไทย
@ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
@ สัตว์เลื้อยคลาน
@ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
@ นก
@ ปลา
@ กุ้ง กั้ง ปู
@ หอย
@ แมลง
@ แมงมุม
@ แมงหางดีด
@ กิ้งกือ
@ ตะขาบ
@ แมงป่อง
@ ไร เห็บ
@ ไส้เดือนดิน
@ ไรน้ำ
@ สัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ

ห้องเรียนคนทำค่าย

แมงมุมใยทองท้องม่วง
Purple Orb-weaver Spider
Nephila clavata L.Koch,1878

วงศ์ Nephilidae
ชื่อพ้อง Nephila limbata, N.obnubila,N.clavatoides
ขนาด เพศเมีย ๓๐-๔๐ มิลลิเมตร
ลักษณะเด่น เพศเมีย หัวและอกปกคลุมด้วยขนสีเหลืองอ่อน พื้นที่ส่วนหัวต่ออกเป็นรูปตัว " V" ขาสีดำ มีแถบสีทองรอบขา ท้องทรงกระบอกท้ายตัด ด้านบนมีแถบสีเหลือง ๕ คู่เรียงตามแนวยาว ด้านล่างและด้านข้างสีม่วงแดง ลักษณะการชักใยยุ่งเหยิงกว่างแมงมุมใยทองชนิดอื่น ชักใยระหว่างไม้พุ่มเตี้ย
ถิ่นอาศัย พบอาศัยในสวนผลไม้ ชายป่าดงดิบ ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ
การแพร่กระจาย พบกระจายทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นมีรายงานพบในอินเดียจนถึงญี่ปุ่น

แมงมุมวงศ์ Nephilidae มีรายงานพบทั่วโลกทั้งหมด ๔๔ ชนิด ๔ สกุล ได้แก่ สกุลClitaetra,Herennia, Nephila และสกุล Nephilengys  เคยถูกจัดอยู่ในวงศ์ Araneidae, Argiopidae และ Tetragnathidae ต่อมาถูกย้ายจากวงศ์ Tetragnathidae โดย Kuntner ในปี ค.ศ. ๒๐๐๖  วงศ์ Nephilidae นับเป็นวงศ์ขนาดเล็กกระจายในเขตร้อนในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา และอเมริกา ในประเทศไทยพบสกุล Nephila จำนวน ๔ ชนิด ได้แก่ Nephila antipodiana (Walckenaer, 1842), N. clavata L. Koch, 1878, N. kuhlii Doleschall, 1859, และ N. pilipes (Fabricius, 1793)

แมงมุมใยทองท้องดำ
Black Orb-weaver Spider
Nephila kuhlii Doleschall, 1859

ชื่อพ้อง Epeira kuhlii
ขนาด เพศผู้ ๕-๖ มม. เพศเมีย ๕๐-๖๐ มม.
ลักษณะเด่น เพศเมียหัวและอก รวมทั้งท้องสีดำ ขาสีน้ำตาลแดง แมงมุมเพศผู้สีน้ำตาลแดง
อุปนิสัย ถักใยขนาดใหญ่ตามแนวดิ่งระหว่างไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่ม แมงมุมมักเกาะตรงกลางของใย เมื่อถูกรบกวนแมงมุมจะไต่ไปตามเส้นใยและหลบภัยในใบไม้หรือในพุ่มไม้
ถิ่นที่อยู่อาศัย อาศัยอยู่ในสวนผลไม้  ป่าละเมาะ ป่าโปร่งหรือชายป่า ป่าสนเขา 
การแพร่กระจาย  ในประเทศไทยพบทุกภาคแต่ไม่บ่อยนัก และมีรายงานพบในอินเดีย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ปาปัวนิวกินี พม่า ออสเตรเลียเหนือ  ปาปัว นิวกินี

แมงมุมใยทองท้องขนาน (Golden Orb-weaver Spider)
Nephila pilipes (Fabricius,1793)

ชื่อพ้อง Nephila maculata
          Epeira walckenaeri
ขนาด เพศผู้ ๖-๙ มิลลิเมตร เพศเมีย ๔๐-๕๐ มิลลิเมตร
ลักษณะเด่น หัวและอกสีเทาอมน้ำตาลเข้มขนสีขาว ท้องรูปทรงกระบอกยาว สีดำมีลายขีดสีเหลืองขนาดใหญ่ 2 ขีดอยู่ตรงกลางขนานไปตามความยาวของท้อง
อุปนิสัย ถักใยขนาดใหญ่ตามแนวดิ่งระหว่างไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่ม แมงมุมมักเกาะตรงกลางของใย เมื่อถูกรบกวนแมงมุมจะไต่ไปตามเส้นใยและหลบภัยในใบไม้หรือในพุ่มไม้
ถิ่นที่อยู่อาศัย อาศัยอยู่ในสวนผลไม้ สวนยางพารา ป่าละเมาะ พบในป่าแทบทุกประเภท
การแพร่กระจาย ในประเทศไทยพบทุกภาคของประเทศ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ปาปัวนิวกินี พม่า ออสเตรเลียเหนือ

แมงมุมใยทองลายจุด
Spotted Golden Web Spider
Nephila  antipodiana (Walckenaer,1841)

ชื่อพ้อง Epeira antipodiana
             Nephila ornata
             Nephila baeri
             Nephila holmerae
ขนาด  เพศเมีย ๔๐-๕๐ มิลลิเมตร
ลักษณะเด่น  หัวและอกสีดำมีขนสีทอง ขาสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลอมแดง ท้องรูปทรงรียาวสีดำหรือเทาเข้ม ด้านบนมีจุดสีเหลือง ๕ คู่ เรียงกันเป็นแถวตามแนวยาวสองแถว และมีริ้วสีเหลืองกระจายทั่วท้องด้านบน
อุปนิสัย ขนาดและลักษณะใยคล้ายกับแมงมุมใยทอง
ถิ่นที่อยู่อาศัย อาศัยในสวนผลไม้ ชายป่า ป่าชายเลน ขอบป่าพรุหรือป่าดงดิบชื้น
การแพร่กระจาย  ในประเทศไทยพบบ่อยในภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ และมีรายงานพบในประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์

แมงมุมใยทองในประเทศไทย Nephila in Thailand
โปสเตอร์นำเสนองานประชุมวิชาการ
-