สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๕๓ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มกราคม ๒๕๕๓
ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย
THAI NATURE EDUCATION CENTER

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาต

หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพรผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันตก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
ท่องเที่ยวและเดินทาง
จองบ้านพักอุทยานแห่งชาติ
จองตํ๋วเครื่องบิน

จองตั๋วรถไฟ
จองตั๋วรถทัวส์

" คันบ่ออกจากบ้าน บ่เห็นด่านแดนไกล คันบ่ไปหาเฮียน แม่นบ่มีความฮู้" ผญาจากปราชญ์อีสานท่านกล่าวไว้ การออกไปสัมผัสสิ่งใหม่และเปิดใจให้กว้างในการเรียนรู้ ทำให้เรามีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น และสิ่งสำคัญคือการเลือกคบบัณฑิต ในเรื่องราวที่เราไม่ถนัดแต่ถ้าเปิดใจให้เรียนรู้มันอย่างน้อยก็มีค่ายิ่งสำหรับการได้เพื่อนใหม่ ไม่ว่าจะส่วนใดของโลด วันที่ ๑๐-๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมาดัชและอ๋อง ชวนผมร่วมการสำรวจโฮย่าในป่าตะวันออก ร่วมมกับผู้เชี่ยวชาญจากสวีเดน ดูเป็นวิชาการมาก ๆ แต่จริง ๆ เราไปเที่ยวกันแบบวิชาการครับ ดูนกไปด้วยดูพรรณไม้ไปบ้าง มันเป็นไปแบบสบาย ๆ จุดแวะจุดแรกที่เขาถ้ำหลังบ้านผมเอง ก่อนจะแวะเขาวงใกล้บ้านราว ๑๐ กม. พบ Hoya graveolens และดอกไม้สวยอย่างต้นโสกน้ำ ที่ออกดอกส้มอมแดงสวยงาม เป็นที่ถูกใจของหลายคน แม้โอย่าที่พบจะไม่ออกดอก ก็เป็นเพราะช่วงนี้เป็นหน้าหนาวและแล้ง จึงเป็นธรรมดาที่มันไม่ออกดอก อย่างไรก็เอ่ยถึงเขาถ้ำ บ้านผมเองแล้วก็ขอเล่ารายละเอียดหน่อยนะครับ เขาแห่งนี้ถูกตั้งเป็นวัดและเกือบจะถูกระเบิดเป็นจุลไปแ้ล้ว ถ้าไม่มีวัด ยอสูงสุดสูงประมาณ ๘๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล มีพรรณไม้น่าสนใจมากมาย และมีลิงแสมจำนวนมาก ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของชาวต่างชาติ มีทัวมาแวะดูลิงเกือบ ๑๐๐ คนต่อวัน แต่น่าเสียดายยังไม่มีการพัฒนาในแบบที่ควรจะเป็น สำหรับการสำรวจสิ่งมีชีวิตตอนนี้กำลังดำเนินการโดยศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย คงอีกไม่นานจะได้ข้อมูลครับ
แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเดินทางย้อนหลัง
นกกระจอกใหญ่ งานแต่งงานและเหล่าแมลง
บันทึกนกจากเขาสอยดาว

บันทึกจากต้นหว้าในช่วงเวลาปิดเทอมร้อน
ขีดความสามารถรองรับด้านสัตว์ป่า
แนวทางวนเกษตรที่บ้านกุเตอร์โก

เห็ดกินได้ในป่าชุมชนดงใหญ่กับวันวาร
บันทึกจากผ้าป่าสามัคคีที่บ้านกุเตอร์โก
จากผ้าป่าสามัคคีสู่งานวิจัยในบ้านกุเตอร์โก
สำรวจและเรียนรู้โฮย่ากับผู้เชี่ยวชาญ
บันทึกจากประชุมเชิงปฏิบัติการเขาหินปูน
การสำรวจของนักสำรวจธรรมชาติรุ่นเยาว
ประชุมสรุปผลงานโครงการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง

เห็ดและราขนาดใหญ่
ร่วมสำรวจและเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญโฮย่าจากสวีเดน
นักพฤษศาสตร์น้อย : รายงาน ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ภาพขวา : สภาพป่าโคกหรือป่าเต็งรัง และถนนตัดผ่านป่าดงใหญ่
ภาพซ้าย : ตลาดนัดชุมชน แหล่งรวมเห็ดจากป่าในฤดูฝน
มุมสาระความรู้ กล้วยไม้ เฟิน ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย หญ้า เห็ดราขนาดใหญ่ มอส ไลเคน สาหร่าย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก แมลง แมงมุม แมงป่อง กิ้งกือ ไส้เดือน ปลา หอยแห่งท้องทะเล หอยน้ำจืด หอยทากบก ปู กุ้งและกั้ง ป่าไม้เมืองไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ สภาวะโลกร้อน สึนามิ
โฮย่าในประเทศไทย
จากเขาวงเรามุ่งหน้าสู่เขาสอยดาว เพื่อกางเต้นท์พักที่นั่น แต่กว่าจะถึงก็เป็นเวลาใกล้ค่ำแล้ว ทันทีที่ไปถึงหัวใจของนักสำรวจเรียกร้องหา สำรวจก่อนแสงจะหมด ก่อนจะกลับมาหาที่พัก เราพบโฮย่าอีกหนึ่งชนิด นั่นคือ Hoya micrantha เป็นไม้เลื้อยพันตามต้นไม้ใกล้ลำห้วย ใบรูปหอกชัดเจน หนา อวบน้ำ ส่วนดอกนั้นยังไม่ออกช่วงนี้เลยได้แต่ถ่ายภาพมา ในทริปนี้เราได้รู้จักคุณสงกรานที่ติดตามมา เมื่อได้ข่าวว่าผู้เชี่ยวชาวจากสวีเดนมาด้วย คุณสงกรานต์ก็นับได้ว่ากำลังหลงใหลในความงามของพรรณไม้สกุล นี้อย่างมาก ถึงขั้นเอาจริงเอาจัง หลังความมืดปกคลุมและอาหารค่ำ เราออกเดินเล่นกันตามริมน้ำ สำรวจถ่ายภาพแมงมุมและสัตว์หากินกลางคืน พบเพื่อน ๆ สัตว์ป่าร่วมโลกนี้หลายชนิด อย่างแมงมุมปุ่มตาไม้ แมงมุมพเนจรอีกหลายชนิด คืนนี้มีพี่สาและสามีร่วมสำรวจถ่ายภาพกับเราเป็นระยะ พี่สาถ่ายภาพสวยได้หลายภาพ ทั้งสองนับเป็นเพื่อนใหม่ของผมสำหรับการเดินทางครั้งนี้ มีเรื่องราวดีแลกเปลี่ยนกันมากมาย โดยเฉพาะเรื่องปลาและโฮ่า ส่วนผมนั้แม้ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องปลา แต่ก็สนใจอยู่ไม่น้อย การสำรวจธรรมชาติของเขาทำให้ผมเกิดไฟอยากเรียนรู้เพิ่มอีกขึ้นเป็นกองเลย โดยเฉพาะปลาในกลุ่ม Homaloptera และ Schistura ซึ่งเป็นกลุ่มปลาติดหินและปลาค้อนั่นเอง มีเวลาทริปหน้าจะนำเสนอเป็นระยะ ๆ นะครับ
ปลาค้อ Schistura cf. nichilsi เคยพบที่ท่าสองยาง ตาก
กิจกรรมธรรมชาติศึกษา
ประจำปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕


@ โครงการอบรมถอดรหัสป่า
@ โครงการยุววิจัยธรรมชาติวิทยา
@ Thailand Amateur Nature Explorer
@ โครงการพัฒนาผู้นำสื่อความหมาย ธรรมชาติ รุ่นที่ ๑
@ โครงการนักอนุกรมวิธานแมลงรุ่นเยาว์
@ โครงงานพัฒนาความสามารถด้านวิทยา ศาสตร์ ระดับเยาวชน
-